ทำไมความคิดอย่างเป็นระบบ จึงสำคัญต่อการแก้ปัญหาและตัดสินใจ ?

โลกแห่งการแข่งขันในทางธุรกิจ มีสถานการณ์ต่าง ๆ มากมายที่ต้องเผชิญ ไม่ว่าจะเป็น

  1. “สถานการณ์ที่เป็นปัญหา”
  2. “สถานการณ์ที่ต้องตัดสินใจ”

จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการแก้ไขปัญหา และตัดสินใจในแต่ละสถานการณ์ ให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ต้องการ เพราะว่าสถานการณ์แต่ละสถานการณ์นั้นมีความแตกต่างกันไป เราไม่สามารถนำวิธีการใดที่ใช้ได้ผลกับสถานการณ์หนึ่งไปใช้กับอีกสถานการณ์ที่ต่างกันไปได้ ดังนั้นการฝึกฝนพัฒนาทักษะการคิดอย่างเป็นระบบ (Systems Thinking) จึงจะช่วยให้เกิดความเข้าใจในสถานการณ์อย่างถ่องแท้ เพื่อที่จะสามารถแก้ไขปัญหาได้ตรงจุดอย่างเป็นระบบ และสามารถตัดสินใจเลือกได้อย่างถูกต้องเหมาะสม โดยคำนึงผลกระทบที่ตามมา

เรียนหลักสูตรนี้ได้อะไรบ้าง?

  • เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ เข้าใจทักษะการทำงานที่จำเป็นในโลกอนาคต และทัศนคติในการเป็นนักแก้ปัญหา
  • เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ เข้าใจ และฝึกฝนทักษะการคิดอย่างเป็นระบบ และการประยุกต์ใช้ทักษะการคิดอย่างเป็นระบบในการแก้ปัญหา 
  • เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ และเข้าใจหลักการพื้นฐานในการแก้ปัญหา 3G และ 2G
  • เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ เข้าใจ และฝึกฝนเทคนิคการแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอนด้วย DMAIC
  • เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ เข้าใจ และฝึกฝนการตัดสินใจโดยใช้ Criteria Rating
  • เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ และเข้าใจแนวคิดทฤษฎีเกม (Game Theory) ในการตัดสินใจ



สิ่งที่จะได้เรียนรู้ในหลักสูตรการแก้ปัญหา และตัดสินใจ

  1. ประเภทของคนในการเผชิญหน้ากับปัญหา
  2. ทักษะที่จำเป็นในการทำงานในศตวรรษที่ 21
  3. พื้นฐานความคิดเชิงระบบในการแก้ปัญหา
  4. ประเภทของปัญหา
  • การแก้ปัญหาด้วย Systems Analysis
  • การแก้ปัญหาด้วย Systems Design
  1. หลักการพื้นฐานในการแก้ปัญหา 3G และ 2G
  2. 5 ขั้นตอนในการแก้ปัญหา
  • 1. Define (การระบุปัญหา)
  • การระบุปัญหาด้วย Pareto Diagram
  • การระบุปัญหาจากมุมมองลูกค้า
  • การระบุหัวข้อปัญหาให้ชัดเจน
  • 2. Measure (การสำรวจสภาพปัจจุบัน)
  • SIPOC
  • Flow Process Chart

 

  • 3. Analyze (การวิเคราะห์ปัญหา)
  • กรอบคิดในการวิเคราะห์หาปัจจัยที่เกิดปัญหา
  • เทคนิควิเคราะห์ปัญหา IS-IS NOT
  • 4. Improve (การดำเนินการปรับปรุง)
  • การตั้งคำถามด้วย “5W1H”
  • ECRS
  • แนวคิดหาโครงการปรับปรุงด้วย Systems Design
  • 5. Control (การควบคุม และจัดทำให้เป็นมาตรฐาน)
  1. การตัดสินใจด้วย Criteria Rating
  2. แนวคิดทฤษฎีเกม (Game Theory) ในการตัดสินใจ



รูปแบบการเรียนรู้

การเรียนรู้แบบผสมผสานระหว่าง

กลุ่มเป้าหมาย : พนักงานกลุ่มเป้าหมาย จำนวนไม่เกิน 30 คนต่อรุ่น

ระยะเวลาฝึกอบรม : 1 วัน

วิทยากร : “อาจารย์บุญเลิศ คณาธนสาร”

วิทยากร : อาจารย์บุญเลิศ คณาธนสาร

ผู้ประสานงาน : คุณชลมารค โชคไมตรี (มิลค์) เบอร์ติดต่อ 098-7633150 หรือ คุณทิพย์สุวรรณ ตั้งอมรสุขสันต์ (เพชร) เบอร์ติดต่อ 081-7113466 .